บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2024

เด็กติดมือถือกับการทำคลิป 3

รูปภาพ
  "สอนหลานทำคลิป" เริ่มสอนการทำคลิปด้วย PowerPoint อย่างง่ายๆ   

เด็กติดมือถือกับการทำคลิป 2

รูปภาพ
 เป็นเรื่องยากที่จะปรับพฤติกรรมของใครสักคน ที่ถูกจับมือถือใส่มือมาตั้งแต่ยังเล็กๆ   เมื่อโตขึ้นก็ เสริมแท็บเล็ตให้ ด้วยหวังประโยชน์จากความรู้ออนไลน์ คลิปที่ทำใน Reels ไม่ได้รับความสนใจจากเพื่อนๆ ในช่อง ท้ายบท : การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการทำให้ดู หรือการลงมือทำด้วยตัวเอง โดยมีผู้ใหญ่คอยแนะนำ

เด็กติดมือถือ กับการทำคลิป 1

รูปภาพ
 เมื่อเห็นว่าหลานๆ ติดมือถือชนิดรุนแรง คืออยู่กับแท็บเล็ตและมือถือทั้งวัน โดยเฉพาะคนโตจะไม่ทำอะไรเลย แม้แต่เวลากินข้าว จึงเริ่มบันทึกลงไลน์ที่ไม่ได้ใช้ ท้ายบท : ใช้ PowerPoint ทำคลิปง่ายๆ เพราะที่โรงเรียนสอนพื้นฐานแล้ว โดยเอารูปของแต่ละคนมาใส่คอนเท้นต์สั้นๆ  น่าเสียดายที่หลานๆ ไม่ได้ให้ความสนใจ มากกว่าการคุยกับเพื่อนและเกมส์ที่ชอบ เป็นเรื่องยากที่จะปรับพฤติกรรมของใครสักคน ที่พ่อแม่จับมือถือใส่มือมาตั้งแต่เล็ก เพียงไม่ต้องการให้ลูกกวนใจ

เด็กติดมือถือ 5

รูปภาพ
  พ่อแม่หัวใจสำคัญตัวช่วยปรับพฤติกรรมลูก   เมื่อลูกติดมือถือ แท็บเล็ต แก้ไขอย่างไรดี ? หากเด็กเกิดพฤติกรรมติดมือถือ จะส่งผลทั้งในด้านพฤติกรรม ความเครียด ทั้งต่อตัวเด็กและคุณพ่อคุณแม่ด้วย ซึ่งทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวไปด้วยคุณพ่อคุณแม่จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรดี ? อันดับแรกคือการเป็นแบบอย่างที่ดี ( Role Model) ให้กับลูก และปรับพฤติกรรมให้ลูกมีการใช้มือถืออย่างเหมาะสม กำหนดเวลาเล่นมือถือให้ชัดเจน จำกัดเวลาในการใช้งานให้เหมาะสมตามวัย สร้างกิจกรรมทดแทน พ่อแม่เล่นกับลูกเยอะๆ ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ สานความสัมพันธ์ ไม่ใช่ตามใจ ให้โอกาสเด็กๆ ได้เล่นอิสระ กับเพื่อนๆ ตามความเหมาะสม เลือกประเภทเกมที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอตามลำพัง ควรให้คำแนะนำเนื้อหาที่ดูกับเด็กไปด้วย พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เลิกนิสัยติดหน้าจอตลอดเวลา ไม่เก็บมือถือไว้ในห้องนอน ไม่ควรซื้อมือถือ แท็บเล็ตให้เด็กๆ ใช้ส่วนตัว มือถือใช้ได้เมื่อไร ? แนะนำให้เริ่มใช้มือถือได้เมื่อเด็กอายุ 3 – 4 ปี และควรจำกัดเวลาในกา...

เด็กติดมือถือ 4

รูปภาพ
ผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กติดมือถือ https://www.phyathai.com/th/article/3047- ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมีอัตราการติดเกมชนิดที่จัดว่าเป็นโรคถึงขนาดที่ต้องบำบัดรักษาราว 10-15% ด้วยเพราะเนื้อหาและรูปแบบของเกมที่สนุก ช่วยสร้างความสุขได้ดี บวกกับเทคโนโลยีที่ทำให้สื่อต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและเข้าถึงง่าย ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองควบคุมดูแลได้ยาก หรือมักปล่อยให้เป็นความสุขของลูกเพราะตัดรำคาญที่จะเกิดปัญหาความขัดแย้งกับลูก ท้ายที่สุดอาจส่งผลกระทบถึงสุขภาพ เพราะเมื่อลูกติดมือถือมากเกินไป โดยเฉพาะหากมัวแต่เล่นแต่เกมมือถือก็อาจทำให้สมองฝ่อ และมีผลกระทบต่างๆ ตามมา ดังนี้ สุขภาพร่างกายผิดปกติ   เด็กจะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ปวดต้นคอ และปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ บางรายถึงขั้นกล้ามเนื้อตาโดนทำลายจนต้องผ่าตัดรักษาก็มี ในเด็กบางคนก็อาจเป็นโรคขาดสารอาหาร หรือโรคอ้วนที่เกิดจากการนั่งนิ่งๆ ใช้แต่มือกดจอโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดต่างๆ ร่วมด้วย สมองเล็กลง ข...

เด็กติดมือถือ 3

รูปภาพ
  ปรับพฤติกรรมลูกอย่างสร้างสรรค์ ท้ายบท : ดึงพวกเขาออกจากมือถือ แม้จะเป็นเพียงเวลาสั้นๆ ให้พวกเขาหันมาสนใจความสัมพันธ์ในครอบครัว และมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น ขอขอบคุณ :  เจ้าของบทความและรูปภาพ

เด็กติดมือถือ 2

รูปภาพ
 เด็กติดมือถือ 2 เมื่อพ่อ แม่ ยื่นมือถือให้ลูก เพื่อลูกจะได้ไม่กวนเวลาทำงาน แต่กลายเป็นการทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัว  ท้ายบท : ปรับพฤติกรรมลูกอย่างสร้างสรรค์ ให้เวลากับพวกลูกๆ ให้มากขึ้น ชวนทำกิจกรรมร่วมกัน และร่วมเล่นมือถือกับลูก เพื่อแนะนำให้ใช้มือถือสร้างประโยชน์กับการเรียน ขอขอบคุณ : เจ้าของบทความ และรูปภาพ

เด็กติดมือถือ 1

รูปภาพ
ใจอาสา : เว็บไซต์กิจกรรมชุมชน จุดประสงค์ : เป็นบันทึกแนวคิด กิจกรรม และเผยแพร่สู่สังคม สโลแกน : เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของตัวเราและสังคม      เป็นความตั้งใจที่จะให้ ใจอาสา กลับมาเป็นสมุดบันทึกของหลานๆ ในการใช้เวลาประโยชน์จากมือถือ แทนการพูดคุยกับเพื่อนๆ ตลอดทังวัน  มาเป็นการเสริมความรู้ในกิจกรรมง่ายๆ เช่นการทำขนม การทำงานศิลปะประดิษฐ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นในชั้นเรียน เป็นต้น หัวข้อใหญ่ : เด็กติดมือถือ การยื่นมือถือให้ลูก คือการดึงเวลาของลูกจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่บ้านและโรงเรียน เมื่อเด็กติดมือถือแล้วเป็นเรื่องยากที่จะดึงมือถือออกจากมือเด็ก ถึงตอนนั้นระเบียบวินัยจะค่อยๆ หายไป เด็กติดมือถือหนัก เสี่ยงพฤติกรรม โมโหร้าย สมาธิสั้น ปล่อยให้ลูกติดมือถือ ทำให้เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง? ปัญหาจากพฤติกรรมการติดมือถือ และแท๊บเล็ตนี้ จะทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้  ดังนี้ โรคสมาธิสั้น สายตาสั้น โรคขี้หงุดหงิด พฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง โรคซึมเศร้า และวิตกกังวล โรคอ้วน น้ำหนักเกิน โรคออทิสติกเทียม โรคสมองที่มีการพัฒนาการช้า โรคคอยื่น หลังค่อม โรค  ออฟฟิศซินโดรม ท้าย...