เด็กติดมือถือ 5
พ่อแม่หัวใจสำคัญตัวช่วยปรับพฤติกรรมลูก
เมื่อลูกติดมือถือ แท็บเล็ต แก้ไขอย่างไรดี?
หากเด็กเกิดพฤติกรรมติดมือถือ จะส่งผลทั้งในด้านพฤติกรรม
ความเครียด ทั้งต่อตัวเด็กและคุณพ่อคุณแม่ด้วย ซึ่งทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวไปด้วยคุณพ่อคุณแม่จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรดี? อันดับแรกคือการเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ให้กับลูก
และปรับพฤติกรรมให้ลูกมีการใช้มือถืออย่างเหมาะสม
- กำหนดเวลาเล่นมือถือให้ชัดเจน จำกัดเวลาในการใช้งานให้เหมาะสมตามวัย
- สร้างกิจกรรมทดแทน พ่อแม่เล่นกับลูกเยอะๆ ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ
เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ
- สานความสัมพันธ์ ไม่ใช่ตามใจ ให้โอกาสเด็กๆ ได้เล่นอิสระ กับเพื่อนๆ
ตามความเหมาะสม
- เลือกประเภทเกมที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอตามลำพัง
ควรให้คำแนะนำเนื้อหาที่ดูกับเด็กไปด้วย
- พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เลิกนิสัยติดหน้าจอตลอดเวลา
- ไม่เก็บมือถือไว้ในห้องนอน ไม่ควรซื้อมือถือ แท็บเล็ตให้เด็กๆ
ใช้ส่วนตัว
มือถือใช้ได้เมื่อไร?
แนะนำให้เริ่มใช้มือถือได้เมื่อเด็กอายุ 3 – 4 ปี และควรจำกัดเวลาในการเล่นไม่เกิน 60 นาที/วัน
เด็กแรกเกิด – 2 ปี
ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือถือ แท็บเล็ต
พ่อแม่หัวใจสำคัญตัวช่วยปรับพฤติกรรมลูก
คุณพ่อคุณแม่มักเข้าใจว่า
การเล่นมือถือเป็นเรื่องปกติตามวันของเด็ก แต่ถ้าหากการเล่นเหล่านั้นขาดการควบคุมที่ดี
ขาดการดูแลอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบให้เกิดปัญหากับเด็กในระยะยาวได้
โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่เริ่มจะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา เช่น ความเครียดจากการเรียน
ปัญหาในโรงเรียน การคบเพื่อน ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาด้านพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในขั้นตอนการบำบัดรักษา พฤติกรรมติดมือถือ
แพทย์จะทำการประเมินพฤติกรรมเด็กจากการพูดคุยกับผู้ปกครองหรือตัวเด็กเอง
ร่วมกับการประเมินความพร้อมและความอดทนของพ่อแม่
ก่อนที่จะให้คำแนะนำในการบำบัดรักษาต่อไป
ท้ายบท :
บุคคลในครอบครัว มีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกหลาน
ขอขอบคุณ :
เจ้าของบทความและรูปภาพ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น